เรื่องน่ารู้ของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 2565

ปัจจุบันมีข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดตำหนิด่าทออย่างรุนแรง การใช้กำลังทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธ หรือแม้แต่การฆาตกรรมสมาชิกในครอบครัวด้วยตัวเองหรือจ้างวานทำ อันเกิดจากการขัดแย้งไม่พึงพอใจกันในด้านต่าง ๆ ในทางการแพทย์นั้น กรมสุขภาพจิตได้วิเคราะห์ว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ

ความผิดปกติในสมอง

สมองของเราหากทำงานอย่างสมดุลจะไม่มีภาวะป่วยเป็นจิตเวช แต่เมื่อมีการเสพยาเสพติดหรือมีภาวะอารมณ์เก็บกดต่อเนื่องยาวนาน จะเกิดการผิดปกติของสารสื่อประสาทหรือสารเคมีในสมอง แล้วส่งผลให้คนเราใช้ความรุนแรงเหนือเหตุผลและขาดการยับยั้งชั่งใจใด ๆ ทั้งสิ้น หรืออาจมาจากการผิดหวังในการลงทุน เชียร์บอลตามแนวทางทีเด็ดบอลสเต็ปจากหลายเว็บแล้วผลไม่เป็นตามที่คาด

ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เปราะบาง

ในอดีตนั้นปู่ย่าตายายจนถึงลูกหลานจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ช่วยเหลือกันดูแลกันเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันคนไทยนิยมแยกตัวกันเป็นครอบครัวเดี่ยวและมีปัญหาการหย่าร้างเป็นจำนวนมาก ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงเปราะบางลงไปประกอบกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่พ่อแม่จำเป็นต้องทุ่มเทกับการทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาให้เพียงพอต่อค่าครองชีพที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ไม่มีเวลาพูดคุยกัน เมื่อมีความไม่เข้าใจกันก็นำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งและใช้กำลังในที่สุด

วิธีการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

  1. ทำความเข้าใจในความแตกต่าง – ต้องยอมรับว่าอุปนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากทำความเข้าใจกันได้ ก็มีแนวโน้มเปิดใจพูดคุยกันอย่างสุภาพได้โดยไม่ใช้อารมณ์ จะไม่เกิดการบังคับกันให้สมาชิกในครอบครัวคิดและทำเหมือนกัน
  2. มีกติการ่วมกันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง – การมีกติการ่วมกันว่าจะไม่พูดคำหยาบหรือตะโกนใส่กันเมื่อไม่พอใจกัน และจะคุยกันด้วยเหตุผลในช่วงที่อารมณ์เย็นลงเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เทคนิคนี้เป็นสิ่งที่ดีเหมาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีลูกหลานวัยเด็กที่จะมองผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง และทำให้โอกาสขัดแย้งบานปลายน้อยลงด้วย
  3. ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี – มีการศึกษาพบว่าเด็กจำนวนมากเสพยา ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ฯลฯ ตามผู้ใหญ่ในบ้าน หากต้องการตัดต้นตอปัญหาก็ต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ในบ้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้
  4. ปรึกษาจิตแพทย์ – หากมีใครในครอบครัวมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการใช้วิธีบำบัดด้วยการพูดคุยให้คำปรึกษา และหากมีอาการมากก็ต้องใช้ยาร่วมด้วย

ความเข้าใจกัน ดูแลเอาใจใส่กันในครอบครัวอย่างแท้จริง เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ทุกคนในบ้านปรองดองกัน ลดความขัดแย้งที่อาจรุนแรงได้ ถ้าเป็นไปได้ควรจัดเวลาเดือนละ 1-2 ครั้งในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและเสริมสามัคคีในครอบครัว