นั่งปรับความคิดและจิตใจ ทำอย่างไรให้สงบ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันนั้นการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้การควบคุมอารมณ์และจิตใจของเราแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขับขี่พาหนะบนท้องถนน เช่น การขับรถปาดหน้า แซงซ้ายแซงขวา รอไฟแดงนาน หรือรถติด ปัญหาในเรื่องของการทำงาน เช่น การโดนเจ้านายต่อว่า การถูกติฉินนินทาจากเพื่อนร่วมงาน หรืออุปกรณ์การทำงานบกพร่องทำให้งานไม่เป็นไปตามอย่างที่คาดหวังไว้ และอีกมากมายหลายปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา ทำให้เราอดทนเก็บอารมณ์ความโกรธ โมโห หงุดหงิดไว้ให้คุกรุ่นภายในใจ ถึงแม้ว่าอารมณ์ความโกรธ โมโห หงุดหงิด หรือไม่พอใจเป็นเรื่องปกติของเราทุกคน แต่ถ้ามากจนเกิดไปก็อาจจะทำให้สุขภาพจิตของเราถูกทำลายได้

เหรียญมี 2 ด้านฉันใด ชีวิตก็มี 2 ด้านฉันนั้น ความโกรธก็เช่นกัน หากมีเหตุการณ์ไม่ถูกใจเข้ามากระทบชีวิต จะเป็นเรื่องทะเลาะในครอบครัว พนันฟุตบอลแล้วตารางบอลผลออกไม่ตรงกับผลที่ตนเองคาดการณ์ไว้ การแสดงออกทางอารมณ์นั้นทำให้เราสามารถควบคุมเหตุและผลของมันได้ ความโกรธทำเรามองเห็นต้นเหตุของปัญหาหรือจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่มากขึ้น และความโกรธก็สามารถทำให้เรามั่นใจในตนเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้เราพร้อมที่จะสู้และแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น ตัดสินใจได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ดีหากความโกรธของเรานั้นมีมากจนเกินพอดี ก็อาจทำให้เราเป็นคนที่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลก็เป็นได้

แล้วเราจะทำอย่างไรให้จิตใจสงบ ความสงบนั้นเป็นสิ่งตรงข้ามของความโกรธ โมโห กระวนกระวาย และความกังวล ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างวิธีระงับความโกรธและฝึกใจให้สงบ เช่น

การสวดมนต์ นั่งสมาธิ

การสวดมนต์นั้นจะทำให้จิตใจของเราจดจ่อกับบทสวดมนต์ ไม่ว่อกแว่กไปสนใจในเรื่องอื่น

การนั่งสมาธิช่วยให้จิตใจของเราสงบนิ่ง กำหนดลมหายใจเข้าออก ทำให้เรารู้ตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังช่วยลดความเครียด และทำให้เราเป็นคนใจเย็น อ่อนโยน และมองโลกในแง่ดีมากขึ้น

การออกไปทำกิจการที่ชอบ

การได้ทำกิจกรรมที่เราชื่นชอบก็เป็นวิธีที่ทำให้จิตใจของเราสงบได้เช่นเดียวกัน การไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ การเต้น การร้องเพลง ก็ช่วยให้เราได้ปลดปล่อยอารมณ์โกธรได้เป็นอย่างดี

การสื่อสารพูดคุย

การเปิดอกพูดคุยก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถระงับอารมณ์โกรธได้ การระบายความในใจให้ผู้อื่นได้รับฟังและแสดงความคิดเห็น หากเป็นเรื่องที่เราผิดจริง ๆ ก็ควรลดทิฐิของเราลง และกล่าวขอโทษอีกฝ่าย

การฝึกใจให้สงบของแต่ละคนนั้นย่อมไม่เหมือนกัน ไม่มีใครผิดหรือถูก แล้วแต่ความสบายใจและการนำมาประยุกต์ใช้ของแต่ละคน